ดอกว่านธรณีสาร

ดอกว่านธรณีสาร (Phyllanthus Pulcher)

 

ว่านธรณีสาร เป็นไม้พุ่ม ออกดอกใต้ใบ ดอกเดี่ยวโคนดอกสีแดงเข้ม ดอกมีขนาดเล็กห้อยลง ลักษณะของดอกน่ารักมาก ... ผลของว่านธรณีสาร เป็นรูปทรงกลม ขนาดเล็ก สีน้ำตาลอ่อน ก้านผลยาว อยู่ใต้ใบ ผลออกเรียงกันเป็นระเบียบเรียบร้อย อ่านข้อมูลมาว่า ธรณีสารจะออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม - กันยายน แต่ต้นธรณีสารที่บ้านครูเจี๊ยบ ปลูกมาหลายปีแล้ว เห็นออกดอกทุกวัน ตลอดปี เลย นะ

 

ดอกว่านธรณีสาร (Phyllanthus Pulcher)

 

คนไทยโบราณมีความเชื่อว่า ถ้าปลูกว่านธรณีสารไว้ในบ้านจะเป็นสิริมงคล ทำให้มีความสุขร่มเย็น ถ้าว่านธรณีสารงอกงามดี แสดงว่าเจ้าของจะได้เกียรติยศ ได้ตำแหน่งหน้าที่การงานที่ดีขึ้นกว่าเดิม และยังเชื่อว่าว่านธรณีสารจะช่วยคุ้มครองอาณาบริเวณบ้านให้รอดพ้นจากมนต์ดำต่างๆ ช่วยปัดเสนียดจัญไรไม่ให้เข้ามาทำอันตรายได้ 

 

ดอกว่านธรณีสาร (Phyllanthus Pulcher)

 

รู้แบบนี้แล้วก็ปลูกไว้หน้าบ้านกันเลยทีเดียว นะ จะ บอก ให้ ! 

 

ดอกว่านธรณีสาร (Phyllanthus Pulcher)

 

ชื่อวิทยาศาสตร์Phyllanthus pulcher  Wall. ex Müll.Arg.

วงศ์ Euphorbiaceae

ชื่ออื่น :  เสนียด (กรุงเทพฯ) กระทืบยอบ (ชุมพร) ตรึงบาดาล (ประจวบคีรีขันธ์) ก้างปลาดิน ดอกใต้ใบ (นครศรีธรรมราช) คดทราย (สงขลา) ก้างปลาแดง ครีบยอด (สุราษฎร์ธานี) รุรี (สตูล) ก้างปลา (นราธิวาส)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มสูง 1-1.5 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล มีรอยแผลใบชัดเจน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 0.8-1.3 ซม. ยาว 1.5-2.5 ซม. โคนใบเบี้ยว ปลายใบมน ขอบใบเรียบ หลังใบและท้องใบเรียบ สีเขียว ดอก ดอกแยกเพศอยู่ต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้ออกเป็นกระจุกตามซอกใบ กลีบดอกมี 4 กลีบ ดอกเพศเมียออกตามซอกใบในส่วนของก้านใบ ดอกห้อยลง กลีบดอกมี 6 กลีบ โคนติดกัน สีม่วงแดง ปลายแหลม ปลายเป็นสีเขียว ขอบจักเป็นฝอย ผล รูปทรงกลม สีน้ำตาลอ่อน 

 

ดอกว่านธรณีสาร (Phyllanthus Pulcher)

 

ส่วนที่ใช้ : ใบแห้ง

สรรพคุณ : ใบแห้ง

  • ป่นเป็นผง ผสมกับพิมเสนดีพอควร
  • ใช้กวาดคอเด็ก แก้เด็กตัวร้อน แก้พิษตานทรางของเด็กได้ดี และขับลมในลำไส้

 

ที่มาข้อมูล: เว็บไซต์ http://www.rspg.or.th

 

 

 

ถ่ายภาพ & เล่าเรื่องโดย:
ครูเจี๊ยบ OPPY CLUB

Visitors: 215,259