ดอกกระดังงาสงขลา

ดอกกระดังงาสงขลา (Drawf Ylang Ylang)

 

กระดังงาสงขลา (Dwarf Ylang-Ylang) เป็นพันธุ์ไม้หอมที่ต้องการพื้นที่ในการปลูกน้อย แต่ต้องได้รับแสงแดดจัดตลอดวัน และเนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดทางภาคใต้ของประเทศไทย เติบโตมาจากสภาพภูมิอากาศที่มีความชื้นสูง จึงเป็นไม้ที่ต้องการน้ำมาก

ดอกกระดังงาสงขลา (Drawf Ylang Ylang)

 

ต้นกระดังงาสงขลา มีความแตกต่างจากต้นกระดังงาไทยก็คือ ต้นกระดังงาไทยนั้นเป็นไม้ยืนต้นที่มีความสูงประมาณ 8-15 เมตร ส่วนต้นกระดังงาสงขลานั้นจะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของต้นไม่เกิน 4 เมตร โดยจัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 1-2.5 เมตร

 

ดอกกระดังงาสงขลา (Drawf Ylang Ylang)

 

ดอกกระดังงาสงขลา ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อกระจุกตามกิ่งตรงข้ามกับใบ ดอกเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมแรง กลีบมีลักษณะเรียวยาว บิดเป็นเกลียวและอ่อนนิ่ม ปลายกลีบแหลมและกระดกขึ้น กลีบชั้นนอกจะยาวและใหญ่กว่ากลีบชั้นในตามลำดับ ดอกมีเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียจำนวนมาก ส่วนกลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียว มีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายแหลม

 

ดอกกระดังงาสงขลา (Drawf Ylang Ylang)

 

ดอกกระดังงาสงขลา ที่ยังอ่อนหรือที่เป็นสีเขียวอ่อนจะยังไม่มีกลิ่นหอม ดอกที่มีสีเหลืองถึงจะมีกลิ่นหอม และที่สำคัญช่วงที่มีอุณหภูมิสูง เช่น ตอนกลางวัน ดอกจะไม่ค่อยส่งกลิ่นหอมเท่ากับช่วงตอนเช้าและเย็น สามารถออกดอกได้เกือบตลอดทั้งปี

 

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cananga odorata (Lam.) Hook. f. & Th. var. fruticosum (Craib) J. Sinclair.

ชื่อสามัญ: Ka-dung-nga-song-kla, Dwarf Ylang-Ylang

ชื่ออื่นๆ: มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กระดังงาสาขา (กรุงเทพฯ), กระดังงางอ (ยะลา-มลายู), กระดังงาเบา (ภาคใต้), กระดังงอ (มาเลย์-ยะลา), ดังงา เป็นต้น

ถิ่นกำเนิด: บ้านจะโหน่ง อ. จะนะ จ. สงขลา

 

ดอกกระดังงาสงขลา (Drawf Ylang Ylang)

 

การปลูกและดูแล: เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ระบายน้ำดี มีความชื้นสูง ต้องการน้ำมาก แต่ไม่ทนต่อน้ำท่วมขัง ชอบแสงแดดแบบเต็มวัน หากปลูกในพื้นที่ที่มีแสงแดดแบบรำไรจะออกดอกน้อยและไม่แข็งแรง

การขยายพันธุ์: การตอนกิ่ง สามารถทำได้แต่ไม่ค่อยนิยม เนื่องจากิ่งเปราะ หักง่าย  การเพาะเมล็ดทำได้ง่ายกว่า การขยายพันธุ์ไม้หอมชนิดนี้ควรใช้ฮอร์โมนช่วยเนื่องจากการออกรากไม่ง่ายนัก ฤดูกาลที่เหมาะสมกับการขยายพันธุ์คือช่วงฤดูฝน ประมาณต้นเดือนมิถุนาย

 

ที่มาข้อมูล:

  1. เว็บไซต์ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน http://clgc.agri.kps.ku.ac.th/resources/old-fragrant/canangium.html
  2. เว็บไซต์ Medthai https://medthai.com/กระดังงาสงขลา/

 

ถ่ายภาพโดย: ครูเจี๊ยบ OPPY CLUB

 

Visitors: 217,151