ดอกกะตังใบ

ดอกกะตังใบ (Bandicoot Berry)

 

กะตังใบ (Bandicoot Berry) เป็นไม้พุ่มสูง ออกดอกเป็นช่อตั้งขึ้น ตามซอกใบ ก้านช่อดอก ดอกย่อยสีเขียวอ่อน มีจำนวนมาก ดอกตูมรูปทรงกลมสีแดงเข้มพอบานมีสีขาว กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ที่โคน ปลายแยกเป็นแฉกแหลม 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมติดกันที่โคน เกสรเพศผู้มี 5 อัน ติดอยู่กับหลอดเกสรเพศผู้ ปลายอับเรณูจะโผล่พ้นหลอดออกไปเป็นแฉกมนๆ ปลายแฉกเว้า เกสรเพศเมียมี 6 ช่อง แต่ละช่องมีไข่ 1 เมล็ด ก้านเกสรสั้น ปลายมน ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน

 

ดอกกะตังใบ (Bandicoot Berry)

 

ชื่อวิทยาศาสตร์: Leea indica (Burm. f.) Merr.

ชื่อสามัญ: Bandicoot Berry, Common tree-vine

ชื่ออื่น: คะนางใบ (ตราด) ช้างเขิง (เงี้ยว) ดังหวาย (นราธิวาส) ตองจ้วม ตองต้อม (ภาคเหนือ) บังบายต้น (ตรัง)

วงศ์: VITACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้พุ่มสูง สูงประมาณ 7 เมตร กิ่งโปร่ง สีเขียวอมน้ำตาล

ใบ ใบประกอบ 1-3 ชั้น ใบประกอบย่อยมีได้ถึง 4 คู่ ใบย่อยรูปไข่ แกมรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ปลายมน โคนมนหรือป้าน ขอบจักซี่ฟัน แผ่นใบสีเขียวเข้ม หูใบรูปไข่กลับ ยาวประมาณ 6 เซนติเมตร

ผล กลม แป้น ผิวบาง มีเนื้อนุ่ม ผลอ่อนมีสีเขียวพอแก่จัดมีสีแดงเข้มจนถึงสีม่วงดำ

 

ดอกกะตังใบ (Bandicoot Berry)

 

ข้อมูลทั่วไป

มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบตั้งแต่อินเดียถึงออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิก ในไทยพบทุกภาค ขึ้นหลากหลายสภาพป่า

ดอกกะตังใบ (Bandicoot Berry)

 

การปลูกเลี้ยง

ดินร่วน ต้องการน้ำปริมาณปานกลาง แสงแดดมาก ถึง แดดรำไร

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ปักชำ

การใช้ประโยชน์

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ผลรับประทานได้ มีสรรพคุณทางยา

 

ที่มาข้อมูล: https://data.addrun.org/

 

ภาพถ่ายโดย:
ครูเจี๊ยบ OPPY CLUB

Visitors: 216,192